การรักษารากฟัน




การรักษารากฟัน

การรักษารากฟันเป็นทันตกรรมแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นด้านการรักษารากฟันและเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน หรือเกิดจากการหัก ร้าว หรือผุ ลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอน
ทิ้งไป

 โดยในอดีตปัญหาเหล่านี้มักจะได้รับการแก้ไขด้วยการถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันตกรรมรวมถึงเทคโนลยีด้านเทคนิค วัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ด้วยการรักษารากฟันซึ่งช่วยให้ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป

ข้อดีของการรักษารากฟัน

  • ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
  • ช่วยขจัดความเจ็บปวด
  • ช่วยป้องกันการแพร่ขยายบริเวณของการติดเชื้อ


ขั้นตอนของการรักษารากฟัน

  1. 1. ขั้นตอนการวินิจฉัยและการเตรียมฟันเพื่อรับการรักษา
    • การถ่ายเอ๊กซเรย์ฟิลม์เล็กเพื่อตรวจดูสภาพและรูปร่างของฟัน รวมถึงบริเวณที่มีการติดเชื้ออักเสบ
    • ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณนั้น
    • การเจาะเปิดโพรงฟันเพื่อตัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อออกไป
  2. 2. ขั้นตอนการทำความสะอาดโพรงรากฟัน
    • การทำความสะอาดโพรงรากฟันอาจทำมากกว่า 1 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยบางท่าน เพื่อความมั่นใจว่าโพรงรากฟันได้รับการทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์
    • สำหรับผู้ป่วยบางท่าน ทันตแพทย์อาจทำการใส่ยาลงในโพรงรากฟัน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ และป้องกันการกลับมาติดเชื้อ
  3. 3. ขั้นตอนการอุดปิดโพรงรากฟัน
    • หลังจากโพรงรากฟันได้รับการฆ่าเชื้อแล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน
  4. 4. ขั้นตอนการใส่เดือยฟันและครอบฟัน
    • ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้นจะมีความแข็งแรงน้อยลง มีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้นการทำเดือยฟันและครอบฟัน
      จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและช่วยปกป้องฟันซี่นั้น
  5. 5. การดูแลความสะอาดฟันและช่องปาก และการเข้ารับการตรวจสภาพฟันทุก 6 เดือนหรือตามที่ทันตแพทย์นัดก็มีความสำคัญอย่างมาก ช่วยให้สามารถพบและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ

วัตถุประสงค์หลักของการรักษารากฟันคือการที่ทันตแพทย์สามารถที่จะกำจัดเชื้อโรคในโพรงประสาทฟันออกไปได้ทั้งหมด รวมไปถึงการอุด
ปิดโพรงรากฟันได้อย่างแนบสนิทเพื่อป้องกันการกลับมาของเชื้อโรคอีกด้วย

ที่ศูนย์ทันตกรรมบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง  เช่น เครื่องมือสำหรับการรักษารากฟัน Endo-mate DT และ เครื่องมือวัดความยาวของรากฟัน ซึงช่วยให้การรักษาสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและ
ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

 

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการรักษารากฟัน

ช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกเสียวฟันอันเกิด เนื่องมาจาก เนื้อเยื่อได้เคยเกิดการอักเสบ
ติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถ แก้ไขด้วยการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปและ
อาการดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน


วิธีการดูแลเมื่อเข้ารับการรักษารากฟันและเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา

ในช่วงเวลาของการรักษารากฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวบริเวณฟันที่ได้รับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์ จะทำการอุดปิดโพรงฟัน
แบบชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นฟันซี่นั้นจึงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่งาน ได้ตามปกติ และเมื่อการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วนั้น ฟันซี่ดังกล่าวก็จะ
มีความแข็งแรงไม่เท่าดังเดิม ดังนั้นทันตแพทย์จึงแนะนำ ให้รับการใส่เดือยฟันและครอบฟันเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและป้องกันฟันซี่นั้น
จากการติดเชื้อ และฟันแตกหัก

เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงการพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
ปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันปัญหาในช่องปากและฟันได้

 

 



การรักษา

  • ทัันตกรรมแบบทั่วไป
    • การตรวจวินิฉัย
    • การถ่ายเอ๊กซเรย์
    • การให้คำปรึกษาพร้อม
    • การวางแผนการรักษา
    • การอุดฟันและการเปลี่ยนวัสดุอุดเก่า
    • การขัดฟันและขูดหินปูน

  • ทันตกรรมเพื่อความงาม
    • การฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์
    • ครอบฟัน
    • สะพานฟัน
    • เคลือบผิวฟัน
    • Inlays และ Onlays
    • การอุดฟันและการเปลี่ยนวัสดุอุดเก่าด้วย วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน
    • การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

  • ทันตกรรมรากฟันเทียม
    • การปลูกรากฟันเทียม
    • การปลูกรากฟันเทียมแบบทันที และแบบเสร็จภายในหนึ่งวัน

  • ทันตกรรมจัดฟัน
    • จัดฟันแบบโลหะและ จัดฟันแบบสีเหมือนฟัน
    • จัดฟันแบบไม่เห็นเครื่องมือ
    • Invisalign
    • จัดฟันแบบถอดได้

  • ทันตกรรมประดิษฐ์
    • ครอบฟัน
    • สะพานฟัน
    • ฟันปลอม
    • การปลูกรากฟันเทียม

  • การรักษาโรคเหงือก
    • การเกลารากฟัน
    • การศัลยกรรมตกแต่งเหงือก
    • การศัลยกรรมเพื่มเหงือก (แก้ปัญหาเหงือกร่น)
    • การศัลยกรรมเหงือกเพื่อ ปรับความยาวของฟัน
  • การรักษารากฟัน
    • รักษารากฟัน

  • ศัลยกรรมช่องปาก
    • ถอนฟัน
    • ผ่าฟันคุด
    • การปลูกรากฟันเทียม
    • การปลูกถ่ายกระดูก
    • การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกร ร่วมกับการจัดฟัน

  • ทันตกรรมป้องกัน
    • การเคลือบหลุมร่องฟันและ การเคลือบฟลูออไรด
    • การป้องกันฟันผุ
    • การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการที่เหมาะสม
    • การนำวัสดุเรซินมาใช้เพื่อการปกป้องฟัน
    • คำแนะนำเกี่ยวกับสุขอนามัยภายในช่องปาก